คณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน ชี้ E-Sports ไม่ใช่กีฬา ส่งผลกระทบต่อเด็กเยอะ!
หลังจากที่ E-Sports หรือการแข่งขันเกมวีดิโอออนไลน์ถูกบรรจุเป็นกีฬาแล้ว โดยจะมีการแข่งขันอย่างจริงจังในปี 2563 และโอลิมปิกระยะถัดไป ทำให้บรรดาเกมเมอร์ในประเทศไทยต่างพากันตื่นเต้นเป็นอย่างมาก ซึ่งได้มีการประเมินว่าในประเทศไทยมีคนดูกีฬา E-Sports กว่า 10 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจนี้กว่า 30,000 ล้านบาทในปัจจุบัน
และในตอนนี้ก็ได้มีการจัดการแข่งขัน E-Sportsในประเทศไทย ทั้งกลุ่มย่อยกลุ่มใหญ่อย่างต่อเนื่อง มีการเปิดสนามเล่นกีฬาและสนามแข่งขันอย่างเอิกเกริกทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด มีชมรม E-Sports เกิดขึ้นในโรงเรียนมัธยมจำนวนมาก รวมถึงมีการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย มีการคัดเลือกเด็กเยาวชนเป็นทีมชาติไทยไปแข่งขันทั้งในเอเชียนเกมส์ และในเวทีโลก
แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นด้วย เพราะล่าสุด ดร. ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ไม่เห็นด้วยกับการที่ E-Sports ถูกบรรจุเป็นกีฬา พร้อมทั้งได้กล่าวว่า “น่าห่วงตรงที่ประเทศไทยรับกระแส E-Sports อย่างรวดเร็วเหมือนกับที่เราอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก เช่น การใช้สติกเกอร์ไลน์อันดับของโลก หรือการใช้เฟซบุ๊กเป็นอันดับต้นๆ ของโลก”
การนำ E-sports มาเป็นกีฬาเกิดจากทางภาคธุรกิจและมีการโฆษณาเกินจริง ไม่ได้คำนึงถึงความเป็นกีฬาที่แท้จริง ซึ่งหลักของกีฬาคือต้องเล่นแล้วสุขภาพดีขึ้น และต้องไม่เป็นการเอาลิขสิทธิ์ (ลิขสิทธิ์เกม) จากบริษัทใดเข้ามาเกี่ยวข้อง และ กกท. ก็รับรองเร็วเกินไป ทั้งที่มีคนเสนอให้ศึกษาอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังเป็นการนำเงินรางวัลมา “ล่อเด็ก” อีกด้วย และจะมีสักกี่คนที่ไปถึงขั้นนั้น อีกทั้งวัยที่เล่นกันมากที่สุดคือ 13-18 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีการพัฒนาสมอง ทำให้ขาดการพัฒนา พอเลยวัยไปแล้วใครจะรับผิดชอบ
โดย ดร.ธีรารัตน์ ยืนยันว่า เป็นการรับรองท่ามกลางความกังวลของหลายๆฝ่าย ทั้งที่มีผู้เสนอให้มีการศึกษาอย่างรอบด้านก่อน แต่ไม่มีการดำเนินการ กกท.กลับยื่นเรื่องให้รับรองเลย เท่ากับสร้างความชอบธรรมให้กับเกม คนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้ทำให้เด็กเยาวชนเข้าใจไปว่า E-sports เป็นกีฬา และเป็นอนาคตของพวกเขา ซึ่งถือเป็นการโฆษณาเกินจริง และยังมีศูนย์บ่มเพาะนักกีฬา E-sports ด้วย
โดยทางคณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนต้องการให้ กกท. หยุดแล้วกลับมาทบทวนกันก่อน สร้างกติกาและหาทางรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งการที่จะเป็นกีฬาได้ก็ต้องเข้ากับองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ ต้องมีกฎกติกาที่ชัดเจน, ต้องไม่ไปสู่ความรุนแรง และต้องมีคณะกรรมการมาดูแลหากเกิดการละเมิดข้อตกลง เช่น ผิดกติกาให้ออก หรืองดการแข่งขัน เป็นต้น
ดังนั้น จึงขอให้หยุดและมาคิดเรื่อง E-sports กันใหม่ ในแง่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กอย่างจริงจัง พร้อมสร้างมาตรการกำกับดูแล โดยผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องเข้ามาร่วมเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ผลักภาระให้กับครู ผู้ปกครอง และเด็กเอง โดยกลุ่มคนที่ส่งเสริมให้เกิดขึ้นไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ โดยเฉพาะสมาคมกีฬา E-sports แห่งประเทศไทย ต้องเข้ามามีบทบาทในการควบคุมและวางกฎกติกา รวมถึง กกท. ที่เป็นคนเปิดประตูให้ E-sports เข้ามากลายเป็นกระแสในเวลานี้ก็ต้องเข้ามาร่วมด้วย ส่วนสถานศึกษาก็ต้องมีมาตรการดูแลเด็กอย่างรัดกุม
Credit : thebangkokinsight
You may also like
ค้นหาข่าวสารที่คุณสนใจได้ที่นี่
เรื่องล่าสุด
- ระวัง! “Nudify” แอป AI ลบเสื้อผ้าได้ ใช้เปลื้องผ้าผู้คนจากภาพถ่าย!! 29 ธันวาคม, 2023
- หลังจาก YouTube แบน Ad Blocker หลายคน Uninstall แต่หลายคน Install เยอะขึ้น 21 พฤศจิกายน, 2023
- Apple กำลังพัฒนา Search Engine เป็นของตัวเอง จะสู้ Google ได้หรือไม่! 5 ตุลาคม, 2023
- Facebook เปิดตัวโลโก้ใหม่ เปลี่ยนจนที่ใครๆต้องร้องว้าว! 25 กันยายน, 2023
- YouTube บล็อคไม่ให้เล่นคลิปแล้ว หากใช้ Ad Blocker กีดกันโฆษณาบนเบราว์เซอร์ 18 กันยายน, 2023
Facebook Comments