เริ่มสหรัฐฯเป็นที่แรก! ฟีเจอร์ตรวจสอบแหล่งข่าวใต้โพสต์บน Facebook
ปัญหาข่าวปลอมบน Facebook เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่กดดัน และคาราคาซังมาอย่างยาวนาน แม้ว่าก่อนหน้านี้ Facebook ได้มีการจ้างคนเพิ่มเป็นพันรายเพื่อตรวจสอบข่าวและโฆษณาจากบัญชีน่าสงสัยแต่ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างจริงจังสักที รวมถึงมีการเผยว่ากำลังทดสอบฟีเจอร์ที่ให้ผู้ใช้ตรวจสอบข่าวสารบน News Feed ได้โดยไม่ต้องออกจาก Facebook เลย คือเพิ่มปุ่ม Information หรือปุ่ม i ขึ้นมาใต้ลิงก์ข่าว เมื่อผู้ใช้กดที่ปุ่มนั้นระบบจะแสดงข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้น
ล่าสุด Facebook ได้เปิดให้ใช้ฟีเจอร์ดังกล่าวแล้ว โดยเริ่มที่สหรัฐฯ เป็นที่แรก ผู้ใช้จะเห็นปุ่มตัว i about this article ปรากฏอยู่ที่ใต้ลิงก์ข่าว เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ผู้เผยแพร่เนื้อหา ทั้งจากเว็บไซต์เองและวิกิพีเดียด้วยว่าเป็นสำนักข่าวใด ก่อตั้งเมื่อไร รวมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นจากเว็บไซต์อื่นว่าเขารายงานข่าวไปในทิศทางใดบ้าง เลื่อนลงมาด้านล่างจะเห็นอีกว่าข่าวนี้ได้รับการแชร์ในพื้นที่ใดบนโลก มีเพื่อนคนไหนแชร์บ้าง เพื่อตรวจสอบว่าข่าวที่เห็นเป็นข่าวจริง หรือข่าวปลอม
และ Facebook ยังเผยอีกว่ากำลังทดสอบอีกฟีเจอร์หนึ่งคือ ฟีเจอร์ที่ผู้สามารถกดดูรายละเอียดของผู้เขียนข่าวบน Instant Articles ได้ กดเข้าไปจะเจอเนื้อหาของผู้เขียนจากวิกิพีเดีย ถ้าไม่มีก็จะเชื่อมต่อไปยังโปรไฟล์โซเชียลของผู้เขียนคนนั้น รวมทั้งบทความอื่นๆ ของผู้เขียนนั้นด้วย เรียกได้ว่าขุดกันไปถึงรากถึงโคนกันเลย แต่ว่าฟีเจอรืนี้จะช่วยเรื่องข่าวปลอมได้มากน้อยเพียงใดก็คงต้องรอดูกันต่อไป
Credit : Facebook
You may also like
ค้นหาข่าวสารที่คุณสนใจได้ที่นี่
เรื่องล่าสุด
- ระวัง! “Nudify” แอป AI ลบเสื้อผ้าได้ ใช้เปลื้องผ้าผู้คนจากภาพถ่าย!! 29 ธันวาคม, 2023
- หลังจาก YouTube แบน Ad Blocker หลายคน Uninstall แต่หลายคน Install เยอะขึ้น 21 พฤศจิกายน, 2023
- Apple กำลังพัฒนา Search Engine เป็นของตัวเอง จะสู้ Google ได้หรือไม่! 5 ตุลาคม, 2023
- Facebook เปิดตัวโลโก้ใหม่ เปลี่ยนจนที่ใครๆต้องร้องว้าว! 25 กันยายน, 2023
- YouTube บล็อคไม่ให้เล่นคลิปแล้ว หากใช้ Ad Blocker กีดกันโฆษณาบนเบราว์เซอร์ 18 กันยายน, 2023
Facebook Comments