สปท. คุมเข้มการใช้สื่อออนไลน์ เตรียมสร้างโซเชียลมีเดียรัฐบาล ซื้อซิมต้องแสกนใบหน้า นิ้วมือ
คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ มีการลงมติเกี่ยวกับข้อเสนอ “การงานแผนควบคุมสื่อออนไลน์เพื่อลดความรุนแรงทางสังคม” โดยมีผู้เห็นชอบถึง 144 เสียง และไม่เห็นชอบ 1 เสียง ซึ่งผลสรุปแล้วว่าผ่านการเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์
โดยมีการเสนอแนวทางการปฏิรูปการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็น 2 ระยะ ซึ่งสรุปง่ายๆ ได้ใจความว่าสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ คือ
แผนการปฏิรูประยะสั้น มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2562
1. สแกนลายนิ้วมือ ใบหน้า และบัตรประชาชนก่อนซื้อซิม โดยให้ กสทช. เพิ่มมาตรการเสริมการจัดระเบียบการลงทะเบียนโทรศัพท์มือถือประเภทเติมเงินต้องใช้ลายนิ้วมือ ใบหน้า ควบคู่กับการลงทะเบียนโทรศัพท์มือถือด้วยบัตรประชาชน
2. สื่อออนไลน์ต่างประเทศต้องขึ้นทะเบียน กำหนดให้ระบบจัดเก็บข้อมูลของบริการ CDN (Content Delivery Network) และ Caching Server ของสื่อออนไลน์ต่างประเทศที่ติดตั้งในประเทศไทย ต้องขึ้นทะเบียนการให้บริการกับกสทช. และต้องกำหนดให้จัดเก็บ log เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนทางคดี โดยกสทช.ประสานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
3. เรียกเก็บภาษี มีการเร่งรัดให้ใช้มาตรการทางภาษีกับผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ต่างประเทศโดยเร็ว เพื่อใช้ควบคู่กับการบังคับใช้มาตรการการเก็บภาษีผู้บริโภค (VAT) กับการใช้โฆษณาหรือการซื้อขายผ่านสื่อออนไลน์ให้เป็นจริง โดยกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานหลัก
แผนการปฏิรูประยะสั้นปฏิบัติระยะยาว
1. ศูนย์เฝ้าระวังการกระทำผิดบนสื่อออนไลน์ เป็นการร่วมมือกันจาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ TCSD (กองบังคับการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี) เพื่อพิจารณาหามาตรการการลงโทษปรับเจ้าของสื่อออนไลน์ต่างประเทศ ที่ได้ปล่อยให้มีการเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่ถูกละเมิดด้วยความรุนแรง หรือปล่อยให้มีการเผยแพร่เนื้อหาที่มีลักษณะชักชวนหรือโน้มน้าวให้นำไปสู่การกระทำที่รุนแรง
2. เสริมสร้างและปลูกจิตสำนึกที่ดีมีจริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์ การให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี การสร้างภูมิคุ้มกัน และความตระหนักรู้ กลไกภาครัฐที่เกี่ยวข้องในข้อปฏิบัตินี้ ได้แก่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
3. โซเชียลมีเดียไทย รัฐบาลควรมีนโยบาลส่งเสริมการผลิตซอฟต์แวร์ที่ใช้งานในสื่อโซเชียลมีเดียเป็นของตัวเอง ด้วยเหตุผลว่า การพึ่งพาระบบสื่อโซเชียลของต่างประเทศจะทำให้สูญเสียการกำกับดูแลที่กฎหมายไทยครอบคลุมไม่ถึง รวมถึงรัฐต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีต่างๆมากยิ่งขึ้น ซึ่งควรพัฒนาซอฟต์แวร์ของรัฐบาลไทยให้ไปถึงระดับ Global ที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย
ซึ่งแผนการปฏิรูปดังกล่าวก็คงจะทำได้ยาก เพราะประเทศไทยเราไม่มีระบบปฏิบัติการหรือเซิฟเวอร์เป็นของตัวเอง การที่ไทยจะไปเจรจากับบริษัท google หรือ Apple นั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะอำนาจต่อรองของประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสายตาของพวกเขา
แต่ก็ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันสื่อออนไลน์เป็นสื่อที่ให้ข้อมูลข่าวสารไปถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว สื่อออนไลน์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย แต่กลับมีการใช้ที่ไม่เหมาะสม ผู้ใช้สื่อขาดความรู้เท่าทันสื่อ ขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้สิทธิเสรีภาพการสื่อสารบน พื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม หรือขาดมาตรฐานจริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์ ขาดประสิทธิภาพในการกำกับดูแลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง จนส่งผลกระทบต่อสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสถาบันหลักของประเทศ ดังนั้นก็ไม่แปลกที่จะมีการปฎิรูปดังกล่าว
Credit : The MATTER, edoc.parliament.go.th
You may also like
ค้นหาข่าวสารที่คุณสนใจได้ที่นี่
เรื่องล่าสุด
- ระวัง! “Nudify” แอป AI ลบเสื้อผ้าได้ ใช้เปลื้องผ้าผู้คนจากภาพถ่าย!! 29 ธันวาคม, 2023
- หลังจาก YouTube แบน Ad Blocker หลายคน Uninstall แต่หลายคน Install เยอะขึ้น 21 พฤศจิกายน, 2023
- Apple กำลังพัฒนา Search Engine เป็นของตัวเอง จะสู้ Google ได้หรือไม่! 5 ตุลาคม, 2023
- Facebook เปิดตัวโลโก้ใหม่ เปลี่ยนจนที่ใครๆต้องร้องว้าว! 25 กันยายน, 2023
- YouTube บล็อคไม่ให้เล่นคลิปแล้ว หากใช้ Ad Blocker กีดกันโฆษณาบนเบราว์เซอร์ 18 กันยายน, 2023
Facebook Comments